ขอขอบคุณ
วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559
ขอฝากและอาหารการกินที่ขึ้นชื่อของเมืองชัยภูมิ
ของฝากขึ้นชื่อ จากฝีมือคนชัยภูมิ
อาหารอร่อยถูกปาก ของฝากลือเลื่อง ต้องเมืองชัยภูมิ
หม่ำตำนานรัก" แห่งเมืองชัยภูมิ
หม่ำชัยภูมิ ได้ขื่อว่า "หม่ำตำนานรัก”แห่งเดียวของไทย ที่พรานป่าไปล่าสัตว์บนภูเขียว –ภูคิ้งในอดีต ซึ่งต้องใช้เวลานาน 1-3 เดือน ในการเดินทางไป-กลับ พอล่าสัตว์ป่าได้ ก็คิดหาวิธีถนอมอาหารมาฝากลูก-เมีย ที่รออยู่บ้าน โดยที่เนื้อสัตว์ไม่เน่าเสีย
พรานจึงสับเนื้อ ผสมตับ คลุกข้าวเหนียวและเกลือที่พกติดตัวไป ยัดใส่ในกระเพาะของสัตว์ หรือลำไส้ของสัตว์ เพื่อหมักหรือถนอมให้เก็บไว้ได้นาน เพื่อเป็นของฝากภรรยา พอกลับถึงบ้านนำมาชิม ปรากฏว่า มีรสชาติอร่อย เป็นที่ชอบใจภรรยา จึงถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและเป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมรับประทาน สืบมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ – ปัจจุบัน
"หม่ำ” จึงเป็นอาหารพื้นเมืองชัยภูมิ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยในปัจจุบันนิยมทำจากเนื้อวัว หรือเนื้อหมู ผสมกับตับ กระเทียม เกลือ บดให้ละเอียด บรรจุไว้ในกระเพาะสัตว์ เนื่องจาก เป็นการแปรรูปอาหารจากภูมิปัญญาที่เก็บไว้นานถึง 3 เดือน เป็นที่นิยมบริโภคมากที่สุดทั้งในและต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาคอีสานและนิยมซื้อเป็นของกินของฝากชั้นนำสัญลักษณ์ที่สำคัญจังหวัดชัยภูมิ เพื่อเป็นสินค้าที่ระลึก
ส่งผลให้หม่ำ เป็นสินค้า OTOP ประเภทอาหารพื้นบ้านที่สำคัญ ได้รับการรับรองตราอาหารปลอดภัย และ อย. จาก สสจ.ชัยภูมิ จุดเด่น หม่ำชัยภูมิ เป็นพก โดยใช้กระเพาะหมู บรรจุเพื่อให้เก็บรักษาคุณภาพได้นาน และรสชาติอร่อย แหล่งผลิตและจำหน่ายที่มีชื่อเสียงได้แก่ที่บ้านบัว อ.เกษตรสมบูรณ์ , อ.ภูขียว , ช่องสามหมอ อ.คอนสวรรค์ และ บริเวณห้าแยกโนนไฮ เขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ
หม่ำ ไส้กรอก แหนมชัยภูมิ
บรรพบุรุษสมัยโบราณนำเนื้อสัตว์ที่เหลือรับประทานในแต่ละมื้อเก็บรักษาโดยการตากแห้ง และมีการคิดนำเนื้อสัตว์ มาสับ แล้วใส่เกลือ และบรรจุไว้ในลำไส้ใหญ่และกระเพาะวัวและควาย เพื่อเก็บไว้ได้นาน จะมีรสชาติออกเปรี้ยว อร่อย จึงเรียกว่า"หม่ำ"ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและประชาชนในหมู่บ้านชนแดน ได้ดำเนินการแปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์ทำเป็นหม่ำ(ใช้เนื้อวัวหรือเนื้อหมู)ในสมัยก่อนไม่มีตู้เย็นในการเก็บรักษาอาหารสด คนอีสานจึงหาวิธีการถนอมอาหารโดยการนำเนื้อสัตว์มาหมัก เพื่อเก็บไว้รับประทานต่อมา ได้คิดค้นวิธีการทำหม่ำขึ้น โดยทำไว้กินเองและแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้านซึ่งมีรสชาติเป็นที่ถูกใจ ซึ่งหม่ำเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่นจนถึงปัจจุบัน
"หม่ำ” จึงเป็นอาหารพื้นเมืองชัยภูมิ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยในปัจจุบันนิยมทำจากเนื้อวัว หรือเนื้อหมู ผสมกับตับ กระเทียม เกลือ บดให้ละเอียด บรรจุไว้ในกระเพาะสัตว์ เนื่องจากเป็นการแปรรูปอาหารจากภูมิปัญญาที่เก็บไว้นานถึง 3 เดือน เป็นที่นิยมบริโภคมากที่สุดทั้งในและต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาคอีสานและนิยมซื้อเป็นของกินของฝากชั้นนำสัญลักษณ์ที่สำคัญจังหวัดชัยภูมิ เพื่อเป็นสินค้าที่ระลึก
"หม่ำ” จึงเป็นอาหารพื้นเมืองชัยภูมิ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยในปัจจุบันนิยมทำจากเนื้อวัว หรือเนื้อหมู ผสมกับตับ กระเทียม เกลือ บดให้ละเอียด บรรจุไว้ในกระเพาะสัตว์ เนื่องจากเป็นการแปรรูปอาหารจากภูมิปัญญาที่เก็บไว้นานถึง 3 เดือน เป็นที่นิยมบริโภคมากที่สุดทั้งในและต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาคอีสานและนิยมซื้อเป็นของกินของฝากชั้นนำสัญลักษณ์ที่สำคัญจังหวัดชัยภูมิ เพื่อเป็นสินค้าที่ระลึก
ผ้าไหมมัดหมี่อำเภอบ้านเขว้า โดยเฉพาะตำบลบ้านเขว้า มีประวัติความเป็นมา อันยาวนานเป็นเวลานานเกือบ 200 ปี ตั้งแต่สมัยเจ้าพ่อพระยาแล เป็นชุมชนที่มีการทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมานานในหมู่ผู้นิยมผ้าไหม และเกิดการเล่าขานแพร่กระจายในกลุ่มนักสะสมผ้าไหม ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ของตนเองสืบต่อถ่ายทอดกันมาแต่โบราณ
การทอผ้าไหมมัดหมี่ ชาวบ้านเขว้า ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพชน นานเกือบ 200 ปีนับแต่มีการก่อตั้งชุมชนบ้านเขว้า เริ่มจากการทอเพื่อใช้ในครัวเรือน ต่อมาได้เข้าไปมีส่วนร่วมในงานประเพณีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน ใช้เป็นเครื่องแต่งกายของเจ้าบ่าว เจ้าสาว ใช้เป็นของไหว้สำหรับญาติฝ่ายชายในงานแต่งงาน งานบวชใช้แต่งตัวนาคและผู้ที่ไปร่วมงาน รวมถึงงานบุญ งานทาน งานประเพณีต่างๆ ผู้คนจะแต่งกายด้วยผ้าไหม ทั้งหญิงและชาย เป็นการประกวดประชันทั้งฝีมือการทอและการตัดเย็บกันไปในงานที
ผ้าไหมของบ้านเขว้า เริ่มเป็นที่รู้จักทั่วไปเมื่อประมาณ พ.ศ.2523 นายถนอม แสงชมภู นายอำเภอขณะนั้น ได้นำผ้าไหมส่งศูนย์ศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ด้วยคุณภาพของผ้าไหม ลวดลายที่แปลกตา และผีมือที่ปราณีต จึงได้รับความสนใจ มีผู้สั่งทอเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปี พ.ศ.2530 ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิในขณะนั้น (ร.ต. สุนัย ณ อุบล รน. :ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านผ้าไหม และผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไหม) ได้ให้การส่งเสริมการผลิตและได้ส่งผ้าไหมบ้านเขว้าเข้าประกวดที่โครงการศิลปาชีพ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ได้รับรางวัลชนะเลิศ หลังจากนั้น ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับการคัดเลือกส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลชนะเลิศเกือบทุกปี
เอกลักษณ์ของลายผ้า เป็นการสะท้อนความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของชุมชนที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมของชุมชน ก่อให้เกิดจินตนาการคิดค้นออกมาเป็นลวดลายต่างๆ บนผืนผ้าถ่ายทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
การเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์กับภูมิปัญญา มีการสาธิตการผลิตผลิตภัณฑ์และกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการผลิต เช่น การทอผ้า การเพนท์ผ้า การหยอดทอง เป็นต้น
ในปี พ.ศ.2545 ในโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับการพิจารณาเป็นสินค้าระดับ 5 ดาวของจังหวัดชัยภูมิ และในการประกวดสินค้าOTOP ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับรางวัลชนะเลิศของประเทศ ยอดจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เห็นได้
ขอขอบคุณ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)