วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

ข่าวเกี่ยวกับชัยภูมิ


ขอขอบคุณ

เพลง ภูมิใจชัยภูมิ



ขอขอบคุณ
https://www.youtube.com/watch?v=nDKUhre7ik8

ขอฝากและอาหารการกินที่ขึ้นชื่อของเมืองชัยภูมิ

ของฝากขึ้นชื่อ จากฝีมือคนชัยภูมิ



อาหารอร่อยถูกปาก ของฝากลือเลื่อง ต้องเมืองชัยภูมิ

หม่ำตำนานรัก" แห่งเมืองชัยภูมิ
       หม่ำชัยภูมิ ได้ขื่อว่า "หม่ำตำนานรักแห่งเดียวของไทย ที่พรานป่าไปล่าสัตว์บนภูเขียว ภูคิ้งในอดีต ซึ่งต้องใช้เวลานาน 1-3 เดือน ในการเดินทางไป-กลับ พอล่าสัตว์ป่าได้ ก็คิดหาวิธีถนอมอาหารมาฝากลูก-เมีย ที่รออยู่บ้าน โดยที่เนื้อสัตว์ไม่เน่าเสีย
       พรานจึงสับเนื้อ ผสมตับ คลุกข้าวเหนียวและเกลือที่พกติดตัวไป ยัดใส่ในกระเพาะของสัตว์ หรือลำไส้ของสัตว์ เพื่อหมักหรือถนอมให้เก็บไว้ได้นาน เพื่อเป็นของฝากภรรยา พอกลับถึงบ้านนำมาชิม ปรากฏว่า มีรสชาติอร่อย เป็นที่ชอบใจภรรยา จึงถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและเป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมรับประทาน สืบมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ – ปัจจุบัน
       "หม่ำ” จึงเป็นอาหารพื้นเมืองชัยภูมิ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยในปัจจุบันนิยมทำจากเนื้อวัว หรือเนื้อหมู ผสมกับตับ กระเทียม เกลือ บดให้ละเอียด บรรจุไว้ในกระเพาะสัตว์ เนื่องจาก  เป็นการแปรรูปอาหารจากภูมิปัญญาที่เก็บไว้นานถึง เดือน เป็นที่นิยมบริโภคมากที่สุดทั้งในและต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาคอีสานและนิยมซื้อเป็นของกินของฝากชั้นนำสัญลักษณ์ที่สำคัญจังหวัดชัยภูมิ เพื่อเป็นสินค้าที่ระลึก
        ส่งผลให้หม่ำ เป็นสินค้า OTOP ประเภทอาหารพื้นบ้านที่สำคัญ ได้รับการรับรองตราอาหารปลอดภัย และ อย. จาก สสจ.ชัยภูมิ จุดเด่น หม่ำชัยภูมิ เป็นพก โดยใช้กระเพาะหมู บรรจุเพื่อให้เก็บรักษาคุณภาพได้นาน และรสชาติอร่อย แหล่งผลิตและจำหน่ายที่มีชื่อเสียงได้แก่ที่บ้านบัว อ.เกษตรสมบูรณ์ อ.ภูขียว ช่องสามหมอ อ.คอนสวรรค์ และ บริเวณห้าแยกโนนไฮ เขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ

หม่ำ ไส้กรอก แหนมชัยภูมิ
       บรรพบุรุษสมัยโบราณนำเนื้อสัตว์ที่เหลือรับประทานในแต่ละมื้อเก็บรักษาโดยการตากแห้ง และมีการคิดนำเนื้อสัตว์ มาสับ แล้วใส่เกลือ และบรรจุไว้ในลำไส้ใหญ่และกระเพาะวัวและควาย เพื่อเก็บไว้ได้นาน จะมีรสชาติออกเปรี้ยว อร่อย จึงเรียกว่า"หม่ำ"ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและประชาชนในหมู่บ้านชนแดน ได้ดำเนินการแปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์ทำเป็นหม่ำ(ใช้เนื้อวัวหรือเนื้อหมู)ในสมัยก่อนไม่มีตู้เย็นในการเก็บรักษาอาหารสด คนอีสานจึงหาวิธีการถนอมอาหารโดยการนำเนื้อสัตว์มาหมัก เพื่อเก็บไว้รับประทานต่อมา ได้คิดค้นวิธีการทำหม่ำขึ้น โดยทำไว้กินเองและแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้านซึ่งมีรสชาติเป็นที่ถูกใจ ซึ่งหม่ำเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่นจนถึงปัจจุบัน

       "หม่ำ จึงเป็นอาหารพื้นเมืองชัยภูมิ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยในปัจจุบันนิยมทำจากเนื้อวัว หรือเนื้อหมู ผสมกับตับ กระเทียม เกลือ บดให้ละเอียด บรรจุไว้ในกระเพาะสัตว์ เนื่องจากเป็นการแปรรูปอาหารจากภูมิปัญญาที่เก็บไว้นานถึง เดือน เป็นที่นิยมบริโภคมากที่สุดทั้งในและต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาคอีสานและนิยมซื้อเป็นของกินของฝากชั้นนำสัญลักษณ์ที่สำคัญจังหวัดชัยภูมิ เพื่อเป็นสินค้าที่ระลึก


 ผ้าไหมมัดหมี่อำเภอบ้านเขว้า โดยเฉพาะตำบลบ้านเขว้า มีประวัติความเป็นมา อันยาวนานเป็นเวลานานเกือบ   200 ปี  ตั้งแต่สมัยเจ้าพ่อพระยาแล  เป็นชุมชนที่มีการทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมานานในหมู่ผู้นิยมผ้าไหม   และเกิดการเล่าขานแพร่กระจายในกลุ่มนักสะสมผ้าไหม  ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ของตนเองสืบต่อถ่ายทอดกันมาแต่โบราณ

 


 การทอผ้าไหมมัดหมี่ ชาวบ้านเขว้า ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพชน นานเกือบ 200 ปีนับแต่มีการก่อตั้งชุมชนบ้านเขว้า  เริ่มจากการทอเพื่อใช้ในครัวเรือน ต่อมาได้เข้าไปมีส่วนร่วมในงานประเพณีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน ใช้เป็นเครื่องแต่งกายของเจ้าบ่าว เจ้าสาว ใช้เป็นของไหว้สำหรับญาติฝ่ายชายในงานแต่งงาน งานบวชใช้แต่งตัวนาคและผู้ที่ไปร่วมงาน รวมถึงงานบุญ งานทาน งานประเพณีต่างๆ ผู้คนจะแต่งกายด้วยผ้าไหม ทั้งหญิงและชาย เป็นการประกวดประชันทั้งฝีมือการทอและการตัดเย็บกันไปในงานที   




 ผ้าไหมของบ้านเขว้า เริ่มเป็นที่รู้จักทั่วไปเมื่อประมาณ พ..2523 นายถนอม แสงชมภู   นายอำเภอขณะนั้น ได้นำผ้าไหมส่งศูนย์ศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ด้วยคุณภาพของผ้าไหม ลวดลายที่แปลกตา และผีมือที่ปราณีต จึงได้รับความสนใจ มีผู้สั่งทอเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปี พ..2530 ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิในขณะนั้น (.สุนัย ณ อุบล รน. :ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านผ้าไหม และผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไหมได้ให้การส่งเสริมการผลิตและได้ส่งผ้าไหมบ้านเขว้าเข้าประกวดที่โครงการศิลปาชีพ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ได้รับรางวัลชนะเลิศ หลังจากนั้น ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับการคัดเลือกส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลชนะเลิศเกือบทุกปี
        เอกลักษณ์ของลายผ้า  เป็นการสะท้อนความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของชุมชนที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมของชุมชน  ก่อให้เกิดจินตนาการคิดค้นออกมาเป็นลวดลายต่างๆ  บนผืนผ้าถ่ายทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน



การเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์กับภูมิปัญญา มีการสาธิตการผลิตผลิตภัณฑ์และกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการผลิต เช่น  การทอผ้า  การเพนท์ผ้า  การหยอดทอง  เป็นต้น
       ในปี พ..2545 ในโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์  ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับการพิจารณาเป็นสินค้าระดับ 5 ดาวของจังหวัดชัยภูมิ และในการประกวดสินค้าOTOP ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับรางวัลชนะเลิศของประเทศ ยอดจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เห็นได้


ขอขอบคุณ

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

อำเภอเมืองชัยภูมินั้น เป็นอำเภอที่อยู่ใจกลางของอาณาเขตของจังหวัด เป็นศูนย์กลาง ทางหน่วยงานราชการ
 จังหวัดชัยภูมิ เป็นหนึ่งใน 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือที่เรียกติดปากกันว่า ภาคอีสาน จังหวัดชัยภูมินั้นมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวทางขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่ในสมัยอดีต และแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถาน นับเป็นนับอีกหนึ่งจังหวัดทางเลือกของนักเดินทาง เพราะชัยภูมิมีพื้นที่กว้างขว้าง แต่ประชากรน้อย ทำให้ศิลปะ วัฒนธรรมรวมไปถึงป่าไม้และธรรมชาติยังคงสมบรูณ์ รถไม่ติด เหมาะสำหรับการพักผ่อนในเวลาหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ หากท่านใดที่กำลังหาแหล่งท่องเที่ยว ในวันหยุดที่จะมาถึงนี้ ชัยภูมิ นับเป็นทางเลือกที่ดี ถึงแม้ว่านี่จะเป็นเพียงการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวเพียงแค่ในตัวอำเภอเมือง แต่เชื่อได้ว่า ยังมีอีกหลายแหล่งที่เมื่อคุณมาสัมผัส รับรองจะประทับใจอย่างไม่มีวันลืม



ชัยภูมิ ภูมิใจภูมิหลายล้ำ ภูมิแผ่นน้ำ ภูมิพนา ภูมิผ้าไหม ภูมิแผ่นดิน ภูมิชน คนภูมิใจ ภูมิใจเถิด ภูมิใจ คนชัยภูมิ



แผนที่การเดินทาง

การเดินเดินและติดต่อเส้นทาง

อุทยานแห่งชาติตาดโตน

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและจองบ้านพักล่วงหน้าได้ที่ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 579-0529, 579-4842 การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 2051 จากตัวเมืองถึงที่ทำการอุทยานฯ ระยะทางประมาณ 21 กม. ถนนราดยางตลอดสาย

การเดินทาง





        รถยนต์icon_car.jpg (808 bytes)

                จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านรังสิตวังน้อย จนถึงสามแยก จังหวัดสระบุรี เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) แล้วแยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวง หมายเลข 201 ที่อำเภอสีคิ้ว อำเภอด่านขุนทด เข้าสู่จังหวัดชัยภูมิ รวมระยะทางประมาณ 342 กม. butterfly2.jpg (6335 bytes)
                จากจังหวัดนครราชสีมา เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ-ขอนแก่น) ผ่านตำบลจอหอ เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 205 ผ่านอำเภอโนนไทย ตรงไปจนถึงสี่แยก ตำบลหนองบัวโคก อำเภอจัตุรัส เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 201 เข้าสู่จังหวัดชัยภูมิ รวมระยะทาง 119 กม.







        รถโดยสาร icon_bus.gif (237 bytes)

            บริษัทขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถ กรุงเทพฯ-ชัยภูมิ ทุกวัน ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ โทร. 272-5228, 272-5852 (รถธรรมดา) และบริษัท แอร์ชัยภูมิ โทร. 272-5260 หรือที่ชัยภูมิ โทร. (044) 811556 (รถปรับอากาศ)








        รถไฟ icon_railway.gif (1048 bytes)

            bird6.jpg (3322 bytes)จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) มีรถด่วน รถเร็ว กรุงเทพฯ-หนองคาย บริการทุกวันโดยลงที่ สถานีบัวใหญ่ จากนั้นสามารถต่อรถโดยสารประจำทางที่สถานีเดินรถไปอีก 51 กม. รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ แผนกบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 223-7010, 223-7020







        เครื่องบิน icon_airway.gif (964 bytes)

            บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ยังไม่มีบริการเที่ยวบินไปจังหวัดชัยภูมิ หากประสงค์จะเดินทางไป โดยเครื่องบินจะต้องลงที่จังหวัดขอนแก่น จากนั้นสามารถต่อรถโดยสารจากจังหวัดขอนแก่น ย้อนกลับเข้าชัยภูมิ ระยะทางประมาณ 150 กม. หรือจะลงที่จังหวัดนครราชสีมา แล้วต่อ รถโดยสารเข้าจังหวัดชัยภูมิ ประมาณ 119 กม. รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 280-0060, 628-2000

        ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ action.gif (910 bytes)

            อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอบ้านเขว้า 13 กม.
            อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอหนองบัวระเหว 33 กม.
            อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอดอนสวรรค์ 38 กม.
            อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอจัตุรัส 39 กม.
            อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอแก้งคร้อ 45 กม.
            อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอหนองบัวแดง 53 กม.
            อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอบำเหน็จณรงค์ 58 กม.
            อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอภูเขียว 77 กม.
            อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอบ้านแท่น 81 กม.
            อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอภักดีชุมพล 85 กม.
            อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอเกษตรสมบูรณ์ 90 กม.
            อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอเทพสถิต 105 กม.
            อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอคอนสาร 125 กม.
            อำเภอเมืองชัยภูมิ-กิ่งอำเภอเนินสง่า 30 กม.

        หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ (รหัสทางไกล 044)action.gif (910 bytes)


            ไปรษณีย์ชัยภูมิ                       811080, 821600
            เทศบาลเมืองชัยภูมิ                 811378
            ที่ว่าการอำเภอเมืองชัยภูมิ        822004
            โรงพยาบาลชัยภูมิ                   811005, 811644, 811640
            สถานีขนส่งจังหวัดชัยภูมิ          811344
            สถานีตำรวจจังหวัดชัยภูมิ        811242
            สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ            811573
            ที่ว่าการอำเภอขุนยวม              691108
            ที่ว่าการอำเภอปาย                  699196


มอหินขาว มหัศจรรย์แห่งความงดงามทางธรรมชาติ

มอหินขาว


 เป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งที่ถือว่ามีความงดงามทางธรรมชาติไม่แพ้ทุ่งดอกกระเจียวงาม ซึ่งตั้งอยู่ใน เขตอุทยานแห่งชาติภูแลนคา บริเวณบ้านวังคำแคน หมู่ 9 ตำบลท่าหินโงม อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิเดิมพื้นที่ แถวนี้ เป็นป่า ต่อมาได้มีคนมาบุกเบิกทำไร่และก็เห็นมีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่ทั่วไปแต่ ก็ไม่ได้สนใจอะไร ที่ไร่ มันสำปะหลัง (ในสมัยนั้น) แต่จากเสียงบอกเล่า มีคนเคยเห็นว่าแปลกประหลาดมาก ก็คือก้อนหินใหญ่ 5 ก้อน ที่ในทุกคืนวันพระ (15 ค่ำ, 8 ค่ำ) จะมีแสง สีขาวส่องขึ้นมา คนเฒ่าคนแก่สมัยนั้น เลยเรียกที่นี่ว่า มอหินขาว สโตนเฮนจ์เมืองไทยเสาหินและแท่งหิน ที่มอหินขาว ส่วนใหญ่ เป็นหินทรายสีขาว นอกจากนี้ก็ยังมี หินทรายแป้ง หินโคลน หินทรายสีม่วง หากมาท่องเที่ยวในฤดูฝน นอกจากนักท่องเที่ยว จะได้ พบเห็น ประติมา้กรรมทางธรรมชาติที่สวยงามของเสาหินแล้ว ยังได้พบดอกไม้ป่าที่บ้านสะพรั่งอยู่ทั่วมอหินขาวดูแล้ว เป็นภาพที่ สวยงามและน่าชมนัก  หากคุณได้เข้ามาสัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งป่าเขาที่นี่แล้วจะชวนคุณหลงใหลมิรู้ลืมจนมอหินขาวแห่งนี้เคย ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ของท่านมุ้ย เรื่องพระนเรศวรมหาราช มาแล้ว นี่คืออีกหนึ่งความท้าทายของ นักแคมป์ปิ้งไม่ควรพลาดได้มาพิสูจน์กัน


















































อุยานแห่งชาติตาดโตน เมืองชัยภูมิ

อุทยานแห่งชาติตาดโตน




มีน้ำตกตาดโตน ซึ่งอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติภูแลนคา ตั้งอยู่ ต.นาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีลานหินกว้างและมีน้ำไหลตลอดปี ด่านล่างของน้ำตกเล่นน้ำได้

อุทยานแห่งชาติตาดโตน มีพื้นที่อยู่บนเทือกเขาภูแลนคา มีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 4 ของเทือกเขาภูแลนคา โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงโดยมีเทือกเขาล้อมรอบที่ราบเอาไว้ ตอนกลางเป็นหุบเขากว้างใหญ่ พื้นที่ของอุทยานแห่งชาติทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะมีเขาภูเขียว ภูกลาง และภูแลนคา ซึ่งจะมีระดับสูงสุด 905 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือจะมียอดภูแลนคาซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของอุทยานแห่งชาติตาดโตน โดยมีความสูงประมาณ 945 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยอดเขาสูงเหล่านี้เป็นต้นน้ำลำธารของห้วยต่างที่สำคัญหลายสาย และต้นกำเนิดของน้ำตกตาดโตน ได้แก่ ห้วยลำปะทาวหรือห้วยตาดโตน ห้วยน้ำซับ ห้วยคร้อ ห้วยตาดโตนน้อย ห้วยสีนวน และห้วยแก่นท้าว ซึ่งจะไหลรวมกันเป็นห้วยปะทาวและไหลผ่านตัวอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ นอกจากนี้ยังมีห้วยที่สำคัญคือ ห้วยชีลอง ห้วยช่อระกา ห้วยเสียว ห้วยแคน และห้วยเสียวน้อย สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง ในบริเวณริมลำห้วยหุบเขาและยอดเขามีดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี และป่าเต็งรังเป็นดินกรวด มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ



สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและจองบ้านพักล่วงหน้าได้ที่ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 579-0529, 579-4842 การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 2051 จากตัวเมืองถึงที่ทำการอุทยานฯ ระยะทางประมาณ 21 กม. ถนนราดยางตลอดสาย







ปรางค์กู่ เมืองเก่าชัยภูมิ

ปรางค์กู่ อยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง เขตอำเภอเมือง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๓ กิโลเมตร


 ประวัติความเป็นมา
ปรางค์กู่ เป็นอโรคยาศาลสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ระหว่าง พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๓ หรือพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีข้อความว่าให้อยู่ใต้พระบารมีของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงการแพทย์คือ พระไภษัชยคุรุไวทูรยประภา ผู้ประทานความสุขเกษมและความไม่มีโรคให้แก่ประชาชน ปัจจุบันเป็นโบราณสถานที่สำคัญและมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ

ลักษณะทั่วไป
 ปรางค์กู่เป็นปราสาทอีกแห่งหนึ่ง ที่มีแผนผังและลักษณะเช่นเดียวกับปราสาทที่ได้พบหลักฐานว่าเป็นอโรคยาศาล ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ นั่นคือ มีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง ๑ องค์ วิหารหรือบรรณาลัยด้านหน้า ๑ หลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีโคปุระเฉพาะด้านหน้าทั้งหมด ก่อด้วยศิลาแลงยกเว้นกรอบประตูหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับเป็นหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก นอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ ๑ สระ ยังคงสภาพสมบูรณ์ดีมาก โดยเฉพาะปรางค์ประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ๕ เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก ๓ ด้านเป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังคงมีทับหลังติดอยู่ จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือหน้ากาล ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๔ กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตา ด้านหน้ามีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนมาก ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง ๑.๗๕ เมตร หน้าตักกว้าง ๗.๕ เมตร ประดิษฐานอยู่ ๑ องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น นอกจากนี้ยังพบทับหลังและองค์ประกอบสถาปัตยกรรมอื่น ๆ เช่น เสาประดับประตู


 หลักฐานที่พบ
 นอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ ๑ สระ ยังคงสภาพสมบูรณ์ดีมาก โดยเฉพาะปรางค์ประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาด ๕ เมตร ย่อมุมไม้สิบสองด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์มี ๓ ด้าน เป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีทับหลังติดอยู่ จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือกาล ซึ่อถือพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๔ กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตาด้านหน้ามีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนมากที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง ๑.๗๕ เมตร หน้าตักกว้าง ๗.๕ เมตร ประดิษฐาน

 อยู่ ๑ องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่นนอกจากนี้ยังพบทับหลังและองค์ประกอบสถาปัตยกรรมอื่นๆ เช่น เสาประดับประตู





ประเพณีบุญเดือน 6

งานบุญเดือน 6 ประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อพระยาแล




        

            ชัยภูมิ เมืองผู้กล้า พญาแล เป็นเมืองโบราณเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยทวาราวดี สมัยขอมเรืองอำนาจ ครั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหน้าด่าน ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีพระยาแลซึ่งเป็นชาวเวียงจันทน์ ได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก ชาวชัยภูมิให้ความเคารพนับถือยกย่องเจ้าพ่อพระยาแลเป็นอย่างมาก จึงได้ร่วมกันสร้าง อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล) ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2518



            งานบุญเดือน 6 ประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อพระยาแล เพื่อถวายบายศรีแด่เจ้าพ่อพระยาแล จะจัดขึ้นในวันจันทร์แรกของเดือนพฤษภาคมของทุกปี รวม 3 วัน 3 คืน ที่บริเวณศาลเจ้าพ่อพระยาแล หนองปลาเฒ่า ตั้งขบวนแห่บายศรีกันตั้งแต่บ่ายโมง เริ่มด้วยขบวนแห่เจ้าพ่อพระยาแลประทับบนหลังช้างเป็นขบวนแรก



             ตามมาด้วยขบวนม้า ขบวนของนายพรศักดิ์ เจียรณัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิคนปัจจุบัน (พ่อเมืองทุกท่านที่มาครองเมืองชัยภูมิ ต้องเข้าร่วมงานบุญเดือนหกกันทุกคน แล้วต้องเดินให้ครบรอบมาจนถึงศาลเจ้าพ่อพระยาแล ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน) ขบวนบายศรีของอำเภอต่างๆที่ตั้งใจทำให้ยิ่งใหญ่และสวยงาม เพื่อนำมาประกวดกันหลังจากขบวนแห่ทุกเข้ามาที่ศาลเจ้าพ่อครบทุกขบวน



             ถึงแม้แดดจะร้อนปานใดก็ไม่เป็นอุปสรรค เพราะทุกคนมาด้วยจิตศรัทธาที่มีต่อเจ้าพ่อพระยาแล ขบวนออกจากที่ว่าการอำเภอเมือง ผ่านอนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล) กว่าจะมาถึงศาลเจ้าพ่อพระยาแลก็มืดค่ำพอดี นับเป็นขบวนแห่บายศรีที่ยิ่งใหญ่ สวยงาม หาชมได้ยากมีที่ชัยภูมิที่เดียวในประเทศไทยครับ