วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

ปรางค์กู่ เมืองเก่าชัยภูมิ

ปรางค์กู่ อยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง เขตอำเภอเมือง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๓ กิโลเมตร


 ประวัติความเป็นมา
ปรางค์กู่ เป็นอโรคยาศาลสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ระหว่าง พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๓ หรือพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีข้อความว่าให้อยู่ใต้พระบารมีของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงการแพทย์คือ พระไภษัชยคุรุไวทูรยประภา ผู้ประทานความสุขเกษมและความไม่มีโรคให้แก่ประชาชน ปัจจุบันเป็นโบราณสถานที่สำคัญและมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ

ลักษณะทั่วไป
 ปรางค์กู่เป็นปราสาทอีกแห่งหนึ่ง ที่มีแผนผังและลักษณะเช่นเดียวกับปราสาทที่ได้พบหลักฐานว่าเป็นอโรคยาศาล ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ นั่นคือ มีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง ๑ องค์ วิหารหรือบรรณาลัยด้านหน้า ๑ หลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีโคปุระเฉพาะด้านหน้าทั้งหมด ก่อด้วยศิลาแลงยกเว้นกรอบประตูหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับเป็นหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก นอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ ๑ สระ ยังคงสภาพสมบูรณ์ดีมาก โดยเฉพาะปรางค์ประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ๕ เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก ๓ ด้านเป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังคงมีทับหลังติดอยู่ จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือหน้ากาล ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๔ กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตา ด้านหน้ามีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนมาก ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง ๑.๗๕ เมตร หน้าตักกว้าง ๗.๕ เมตร ประดิษฐานอยู่ ๑ องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น นอกจากนี้ยังพบทับหลังและองค์ประกอบสถาปัตยกรรมอื่น ๆ เช่น เสาประดับประตู


 หลักฐานที่พบ
 นอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ ๑ สระ ยังคงสภาพสมบูรณ์ดีมาก โดยเฉพาะปรางค์ประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาด ๕ เมตร ย่อมุมไม้สิบสองด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์มี ๓ ด้าน เป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีทับหลังติดอยู่ จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือกาล ซึ่อถือพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๔ กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตาด้านหน้ามีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนมากที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง ๑.๗๕ เมตร หน้าตักกว้าง ๗.๕ เมตร ประดิษฐาน

 อยู่ ๑ องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่นนอกจากนี้ยังพบทับหลังและองค์ประกอบสถาปัตยกรรมอื่นๆ เช่น เสาประดับประตู





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น