ขอขอบคุณ
วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559
ขอฝากและอาหารการกินที่ขึ้นชื่อของเมืองชัยภูมิ
ของฝากขึ้นชื่อ จากฝีมือคนชัยภูมิ
อาหารอร่อยถูกปาก ของฝากลือเลื่อง ต้องเมืองชัยภูมิ
หม่ำตำนานรัก" แห่งเมืองชัยภูมิ
หม่ำชัยภูมิ ได้ขื่อว่า "หม่ำตำนานรัก”แห่งเดียวของไทย ที่พรานป่าไปล่าสัตว์บนภูเขียว –ภูคิ้งในอดีต ซึ่งต้องใช้เวลานาน 1-3 เดือน ในการเดินทางไป-กลับ พอล่าสัตว์ป่าได้ ก็คิดหาวิธีถนอมอาหารมาฝากลูก-เมีย ที่รออยู่บ้าน โดยที่เนื้อสัตว์ไม่เน่าเสีย
พรานจึงสับเนื้อ ผสมตับ คลุกข้าวเหนียวและเกลือที่พกติดตัวไป ยัดใส่ในกระเพาะของสัตว์ หรือลำไส้ของสัตว์ เพื่อหมักหรือถนอมให้เก็บไว้ได้นาน เพื่อเป็นของฝากภรรยา พอกลับถึงบ้านนำมาชิม ปรากฏว่า มีรสชาติอร่อย เป็นที่ชอบใจภรรยา จึงถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและเป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมรับประทาน สืบมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ – ปัจจุบัน
"หม่ำ” จึงเป็นอาหารพื้นเมืองชัยภูมิ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยในปัจจุบันนิยมทำจากเนื้อวัว หรือเนื้อหมู ผสมกับตับ กระเทียม เกลือ บดให้ละเอียด บรรจุไว้ในกระเพาะสัตว์ เนื่องจาก เป็นการแปรรูปอาหารจากภูมิปัญญาที่เก็บไว้นานถึง 3 เดือน เป็นที่นิยมบริโภคมากที่สุดทั้งในและต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาคอีสานและนิยมซื้อเป็นของกินของฝากชั้นนำสัญลักษณ์ที่สำคัญจังหวัดชัยภูมิ เพื่อเป็นสินค้าที่ระลึก
ส่งผลให้หม่ำ เป็นสินค้า OTOP ประเภทอาหารพื้นบ้านที่สำคัญ ได้รับการรับรองตราอาหารปลอดภัย และ อย. จาก สสจ.ชัยภูมิ จุดเด่น หม่ำชัยภูมิ เป็นพก โดยใช้กระเพาะหมู บรรจุเพื่อให้เก็บรักษาคุณภาพได้นาน และรสชาติอร่อย แหล่งผลิตและจำหน่ายที่มีชื่อเสียงได้แก่ที่บ้านบัว อ.เกษตรสมบูรณ์ , อ.ภูขียว , ช่องสามหมอ อ.คอนสวรรค์ และ บริเวณห้าแยกโนนไฮ เขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ
หม่ำ ไส้กรอก แหนมชัยภูมิ
บรรพบุรุษสมัยโบราณนำเนื้อสัตว์ที่เหลือรับประทานในแต่ละมื้อเก็บรักษาโดยการตากแห้ง และมีการคิดนำเนื้อสัตว์ มาสับ แล้วใส่เกลือ และบรรจุไว้ในลำไส้ใหญ่และกระเพาะวัวและควาย เพื่อเก็บไว้ได้นาน จะมีรสชาติออกเปรี้ยว อร่อย จึงเรียกว่า"หม่ำ"ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและประชาชนในหมู่บ้านชนแดน ได้ดำเนินการแปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์ทำเป็นหม่ำ(ใช้เนื้อวัวหรือเนื้อหมู)ในสมัยก่อนไม่มีตู้เย็นในการเก็บรักษาอาหารสด คนอีสานจึงหาวิธีการถนอมอาหารโดยการนำเนื้อสัตว์มาหมัก เพื่อเก็บไว้รับประทานต่อมา ได้คิดค้นวิธีการทำหม่ำขึ้น โดยทำไว้กินเองและแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้านซึ่งมีรสชาติเป็นที่ถูกใจ ซึ่งหม่ำเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่นจนถึงปัจจุบัน
"หม่ำ” จึงเป็นอาหารพื้นเมืองชัยภูมิ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยในปัจจุบันนิยมทำจากเนื้อวัว หรือเนื้อหมู ผสมกับตับ กระเทียม เกลือ บดให้ละเอียด บรรจุไว้ในกระเพาะสัตว์ เนื่องจากเป็นการแปรรูปอาหารจากภูมิปัญญาที่เก็บไว้นานถึง 3 เดือน เป็นที่นิยมบริโภคมากที่สุดทั้งในและต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาคอีสานและนิยมซื้อเป็นของกินของฝากชั้นนำสัญลักษณ์ที่สำคัญจังหวัดชัยภูมิ เพื่อเป็นสินค้าที่ระลึก
"หม่ำ” จึงเป็นอาหารพื้นเมืองชัยภูมิ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยในปัจจุบันนิยมทำจากเนื้อวัว หรือเนื้อหมู ผสมกับตับ กระเทียม เกลือ บดให้ละเอียด บรรจุไว้ในกระเพาะสัตว์ เนื่องจากเป็นการแปรรูปอาหารจากภูมิปัญญาที่เก็บไว้นานถึง 3 เดือน เป็นที่นิยมบริโภคมากที่สุดทั้งในและต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาคอีสานและนิยมซื้อเป็นของกินของฝากชั้นนำสัญลักษณ์ที่สำคัญจังหวัดชัยภูมิ เพื่อเป็นสินค้าที่ระลึก
ผ้าไหมมัดหมี่อำเภอบ้านเขว้า โดยเฉพาะตำบลบ้านเขว้า มีประวัติความเป็นมา อันยาวนานเป็นเวลานานเกือบ 200 ปี ตั้งแต่สมัยเจ้าพ่อพระยาแล เป็นชุมชนที่มีการทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมานานในหมู่ผู้นิยมผ้าไหม และเกิดการเล่าขานแพร่กระจายในกลุ่มนักสะสมผ้าไหม ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ของตนเองสืบต่อถ่ายทอดกันมาแต่โบราณ
การทอผ้าไหมมัดหมี่ ชาวบ้านเขว้า ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพชน นานเกือบ 200 ปีนับแต่มีการก่อตั้งชุมชนบ้านเขว้า เริ่มจากการทอเพื่อใช้ในครัวเรือน ต่อมาได้เข้าไปมีส่วนร่วมในงานประเพณีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน ใช้เป็นเครื่องแต่งกายของเจ้าบ่าว เจ้าสาว ใช้เป็นของไหว้สำหรับญาติฝ่ายชายในงานแต่งงาน งานบวชใช้แต่งตัวนาคและผู้ที่ไปร่วมงาน รวมถึงงานบุญ งานทาน งานประเพณีต่างๆ ผู้คนจะแต่งกายด้วยผ้าไหม ทั้งหญิงและชาย เป็นการประกวดประชันทั้งฝีมือการทอและการตัดเย็บกันไปในงานที
ผ้าไหมของบ้านเขว้า เริ่มเป็นที่รู้จักทั่วไปเมื่อประมาณ พ.ศ.2523 นายถนอม แสงชมภู นายอำเภอขณะนั้น ได้นำผ้าไหมส่งศูนย์ศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ด้วยคุณภาพของผ้าไหม ลวดลายที่แปลกตา และผีมือที่ปราณีต จึงได้รับความสนใจ มีผู้สั่งทอเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปี พ.ศ.2530 ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิในขณะนั้น (ร.ต. สุนัย ณ อุบล รน. :ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านผ้าไหม และผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไหม) ได้ให้การส่งเสริมการผลิตและได้ส่งผ้าไหมบ้านเขว้าเข้าประกวดที่โครงการศิลปาชีพ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ได้รับรางวัลชนะเลิศ หลังจากนั้น ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับการคัดเลือกส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลชนะเลิศเกือบทุกปี
เอกลักษณ์ของลายผ้า เป็นการสะท้อนความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของชุมชนที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมของชุมชน ก่อให้เกิดจินตนาการคิดค้นออกมาเป็นลวดลายต่างๆ บนผืนผ้าถ่ายทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
การเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์กับภูมิปัญญา มีการสาธิตการผลิตผลิตภัณฑ์และกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการผลิต เช่น การทอผ้า การเพนท์ผ้า การหยอดทอง เป็นต้น
ในปี พ.ศ.2545 ในโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับการพิจารณาเป็นสินค้าระดับ 5 ดาวของจังหวัดชัยภูมิ และในการประกวดสินค้าOTOP ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับรางวัลชนะเลิศของประเทศ ยอดจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เห็นได้
ขอขอบคุณ
วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559
อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
อำเภอเมืองชัยภูมินั้น เป็นอำเภอที่อยู่ใจกลางของอาณาเขตของจังหวัด เป็นศูนย์กลาง ทางหน่วยงานราชการ
จังหวัดชัยภูมิ เป็นหนึ่งใน 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือที่เรียกติดปากกันว่า ภาคอีสาน จังหวัดชัยภูมินั้นมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวทางขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่ในสมัยอดีต และแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถาน นับเป็นนับอีกหนึ่งจังหวัดทางเลือกของนักเดินทาง เพราะชัยภูมิมีพื้นที่กว้างขว้าง แต่ประชากรน้อย ทำให้ศิลปะ วัฒนธรรมรวมไปถึงป่าไม้และธรรมชาติยังคงสมบรูณ์ รถไม่ติด เหมาะสำหรับการพักผ่อนในเวลาหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ หากท่านใดที่กำลังหาแหล่งท่องเที่ยว ในวันหยุดที่จะมาถึงนี้ ชัยภูมิ นับเป็นทางเลือกที่ดี ถึงแม้ว่านี่จะเป็นเพียงการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวเพียงแค่ในตัวอำเภอเมือง แต่เชื่อได้ว่า ยังมีอีกหลายแหล่งที่เมื่อคุณมาสัมผัส รับรองจะประทับใจอย่างไม่มีวันลืม
จังหวัดชัยภูมิ เป็นหนึ่งใน 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือที่เรียกติดปากกันว่า ภาคอีสาน จังหวัดชัยภูมินั้นมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวทางขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่ในสมัยอดีต และแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถาน นับเป็นนับอีกหนึ่งจังหวัดทางเลือกของนักเดินทาง เพราะชัยภูมิมีพื้นที่กว้างขว้าง แต่ประชากรน้อย ทำให้ศิลปะ วัฒนธรรมรวมไปถึงป่าไม้และธรรมชาติยังคงสมบรูณ์ รถไม่ติด เหมาะสำหรับการพักผ่อนในเวลาหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ หากท่านใดที่กำลังหาแหล่งท่องเที่ยว ในวันหยุดที่จะมาถึงนี้ ชัยภูมิ นับเป็นทางเลือกที่ดี ถึงแม้ว่านี่จะเป็นเพียงการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวเพียงแค่ในตัวอำเภอเมือง แต่เชื่อได้ว่า ยังมีอีกหลายแหล่งที่เมื่อคุณมาสัมผัส รับรองจะประทับใจอย่างไม่มีวันลืม
ชัยภูมิ ภูมิใจภูมิหลายล้ำ ภูมิแผ่นน้ำ ภูมิพนา ภูมิผ้าไหม ภูมิแผ่นดิน ภูมิชน
คนภูมิใจ ภูมิใจเถิด ภูมิใจ คนชัยภูมิ
การเดินเดินและติดต่อเส้นทาง
อุทยานแห่งชาติตาดโตน
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและจองบ้านพักล่วงหน้าได้ที่
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 579-0529, 579-4842 การเดินทาง
ไปตามทางหลวงหมายเลข 2051 จากตัวเมืองถึงที่ทำการอุทยานฯ ระยะทางประมาณ
21 กม. ถนนราดยางตลอดสาย
รถยนต์icon_car.jpg (808 bytes)
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข
1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านรังสิตวังน้อย จนถึงสามแยก
จังหวัดสระบุรี เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ)
แล้วแยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวง หมายเลข 201 ที่อำเภอสีคิ้ว อำเภอด่านขุนทด
เข้าสู่จังหวัดชัยภูมิ รวมระยะทางประมาณ 342
กม. butterfly2.jpg (6335 bytes)
จากจังหวัดนครราชสีมา
เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ-ขอนแก่น) ผ่านตำบลจอหอ
เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 205 ผ่านอำเภอโนนไทย ตรงไปจนถึงสี่แยก
ตำบลหนองบัวโคก อำเภอจัตุรัส เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 201
เข้าสู่จังหวัดชัยภูมิ รวมระยะทาง 119 กม.
รถโดยสาร icon_bus.gif
(237 bytes)
บริษัทขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถ
กรุงเทพฯ-ชัยภูมิ ทุกวัน ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ โทร. 272-5228, 272-5852
(รถธรรมดา) และบริษัท แอร์ชัยภูมิ โทร. 272-5260
หรือที่ชัยภูมิ โทร. (044) 811556 (รถปรับอากาศ)
รถไฟ icon_railway.gif (1048
bytes)
bird6.jpg (3322 bytes)จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) มีรถด่วน
รถเร็ว กรุงเทพฯ-หนองคาย บริการทุกวันโดยลงที่ สถานีบัวใหญ่
จากนั้นสามารถต่อรถโดยสารประจำทางที่สถานีเดินรถไปอีก 51
กม. รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ แผนกบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.
223-7010, 223-7020
เครื่องบิน icon_airway.gif
(964 bytes)
บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
ยังไม่มีบริการเที่ยวบินไปจังหวัดชัยภูมิ หากประสงค์จะเดินทางไป โดยเครื่องบินจะต้องลงที่จังหวัดขอนแก่น
จากนั้นสามารถต่อรถโดยสารจากจังหวัดขอนแก่น ย้อนกลับเข้าชัยภูมิ ระยะทางประมาณ 150
กม. หรือจะลงที่จังหวัดนครราชสีมา แล้วต่อ รถโดยสารเข้าจังหวัดชัยภูมิ ประมาณ 119
กม. รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 280-0060,
628-2000
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ action.gif
(910 bytes)
อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอบ้านเขว้า 13
กม.
อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอหนองบัวระเหว
33 กม.
อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอดอนสวรรค์ 38
กม.
อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอจัตุรัส 39
กม.
อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอแก้งคร้อ 45
กม.
อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอหนองบัวแดง 53
กม.
อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอบำเหน็จณรงค์
58 กม.
อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอภูเขียว 77
กม.
อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอบ้านแท่น 81
กม.
อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอภักดีชุมพล 85
กม.
อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอเกษตรสมบูรณ์
90 กม.
อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอเทพสถิต 105
กม.
อำเภอเมืองชัยภูมิ-อำเภอคอนสาร 125
กม.
อำเภอเมืองชัยภูมิ-กิ่งอำเภอเนินสง่า
30 กม.
ไปรษณีย์ชัยภูมิ 811080, 821600
เทศบาลเมืองชัยภูมิ 811378
ที่ว่าการอำเภอเมืองชัยภูมิ 822004
โรงพยาบาลชัยภูมิ 811005, 811644,
811640
สถานีขนส่งจังหวัดชัยภูมิ 811344
สถานีตำรวจจังหวัดชัยภูมิ 811242
สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ 811573
ที่ว่าการอำเภอขุนยวม 691108
ที่ว่าการอำเภอปาย 699196
มอหินขาว มหัศจรรย์แห่งความงดงามทางธรรมชาติ
มอหินขาว
เป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งที่ถือว่ามีความงดงามทางธรรมชาติไม่แพ้ทุ่งดอกกระเจียวงาม
ซึ่งตั้งอยู่ใน เขตอุทยานแห่งชาติภูแลนคา บริเวณบ้านวังคำแคน หมู่ 9 ตำบลท่าหินโงม
อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิเดิมพื้นที่ แถวนี้ เป็นป่า
ต่อมาได้มีคนมาบุกเบิกทำไร่และก็เห็นมีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่ทั่วไปแต่
ก็ไม่ได้สนใจอะไร ที่ไร่ มันสำปะหลัง (ในสมัยนั้น) แต่จากเสียงบอกเล่า มีคนเคยเห็นว่าแปลกประหลาดมาก
ก็คือก้อนหินใหญ่ 5 ก้อน ที่ในทุกคืนวันพระ (15 ค่ำ,
8 ค่ำ) จะมีแสง สีขาวส่องขึ้นมา คนเฒ่าคนแก่สมัยนั้น เลยเรียกที่นี่ว่า
มอหินขาว สโตนเฮนจ์เมืองไทย“เสาหินและแท่งหิน ที่มอหินขาว ส่วนใหญ่
เป็นหินทรายสีขาว นอกจากนี้ก็ยังมี หินทรายแป้ง หินโคลน หินทรายสีม่วง
หากมาท่องเที่ยวในฤดูฝน นอกจากนักท่องเที่ยว จะได้ พบเห็น
ประติมา้กรรมทางธรรมชาติที่สวยงามของเสาหินแล้ว
ยังได้พบดอกไม้ป่าที่บ้านสะพรั่งอยู่ทั่วมอหินขาวดูแล้ว เป็นภาพที่
สวยงามและน่าชมนัก หากคุณได้เข้ามาสัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งป่าเขาที่นี่แล้วจะชวนคุณหลงใหลมิรู้ลืมจน”มอหินขาว”
แห่งนี้เคย
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ของท่านมุ้ย เรื่องพระนเรศวรมหาราช
มาแล้ว นี่คืออีกหนึ่งความท้าทายของ นักแคมป์ปิ้งไม่ควรพลาดได้มาพิสูจน์กัน
อุยานแห่งชาติตาดโตน เมืองชัยภูมิ
อุทยานแห่งชาติตาดโตน
มีน้ำตกตาดโตน
ซึ่งอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติภูแลนคา ตั้งอยู่ ต.นาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ
เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีลานหินกว้างและมีน้ำไหลตลอดปี ด่านล่างของน้ำตกเล่นน้ำได้
อุทยานแห่งชาติตาดโตน
มีพื้นที่อยู่บนเทือกเขาภูแลนคา มีพื้นที่ประมาณ 1 ใน
4 ของเทือกเขาภูแลนคา
โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงโดยมีเทือกเขาล้อมรอบที่ราบเอาไว้
ตอนกลางเป็นหุบเขากว้างใหญ่
พื้นที่ของอุทยานแห่งชาติทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะมีเขาภูเขียว ภูกลาง
และภูแลนคา ซึ่งจะมีระดับสูงสุด 905 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือจะมียอดภูแลนคาซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของอุทยานแห่งชาติตาดโตน
โดยมีความสูงประมาณ 945 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ยอดเขาสูงเหล่านี้เป็นต้นน้ำลำธารของห้วยต่างที่สำคัญหลายสาย
และต้นกำเนิดของน้ำตกตาดโตน ได้แก่ ห้วยลำปะทาวหรือห้วยตาดโตน ห้วยน้ำซับ ห้วยคร้อ
ห้วยตาดโตนน้อย ห้วยสีนวน และห้วยแก่นท้าว
ซึ่งจะไหลรวมกันเป็นห้วยปะทาวและไหลผ่านตัวอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
นอกจากนี้ยังมีห้วยที่สำคัญคือ ห้วยชีลอง ห้วยช่อระกา ห้วยเสียว ห้วยแคน
และห้วยเสียวน้อย สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง
ในบริเวณริมลำห้วยหุบเขาและยอดเขามีดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี
และป่าเต็งรังเป็นดินกรวด มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและจองบ้านพักล่วงหน้าได้ที่
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 579-0529, 579-4842 การเดินทาง
ไปตามทางหลวงหมายเลข 2051 จากตัวเมืองถึงที่ทำการอุทยานฯ ระยะทางประมาณ
21 กม. ถนนราดยางตลอดสาย
ปรางค์กู่ เมืองเก่าชัยภูมิ
ปรางค์กู่
อยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง เขตอำเภอเมือง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๓
กิโลเมตร
ประวัติความเป็นมา
ปรางค์กู่
เป็นอโรคยาศาลสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ระหว่าง พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๓
หรือพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีข้อความว่าให้อยู่ใต้พระบารมีของพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงการแพทย์คือ พระไภษัชยคุรุไวทูรยประภา ผู้ประทานความสุขเกษมและความไม่มีโรคให้แก่ประชาชน
ปัจจุบันเป็นโบราณสถานที่สำคัญและมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ
ลักษณะทั่วไป
ปรางค์กู่เป็นปราสาทอีกแห่งหนึ่ง
ที่มีแผนผังและลักษณะเช่นเดียวกับปราสาทที่ได้พบหลักฐานว่าเป็นอโรคยาศาล
ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ นั่นคือ มีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง ๑ องค์
วิหารหรือบรรณาลัยด้านหน้า ๑ หลัง
ล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีโคปุระเฉพาะด้านหน้าทั้งหมด
ก่อด้วยศิลาแลงยกเว้นกรอบประตูหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับเป็นหินทราย
หันหน้าไปทางทิศตะวันออก นอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ ๑ สระ
ยังคงสภาพสมบูรณ์ดีมาก โดยเฉพาะปรางค์ประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด
๕ เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก ๓
ด้านเป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังคงมีทับหลังติดอยู่ จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือหน้ากาล
ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง
ด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๔ กร
กับรูปนางปรัชญาปารมิตา ด้านหน้ามีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน
แต่ปัจจุบันลบเลือนมาก ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ
ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง ๑.๗๕ เมตร หน้าตักกว้าง ๗.๕ เมตร ประดิษฐานอยู่ ๑ องค์
ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น
นอกจากนี้ยังพบทับหลังและองค์ประกอบสถาปัตยกรรมอื่น ๆ เช่น เสาประดับประตู
หลักฐานที่พบ
นอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ
๑ สระ ยังคงสภาพสมบูรณ์ดีมาก
โดยเฉพาะปรางค์ประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาด ๕ เมตร
ย่อมุมไม้สิบสองด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์มี ๓ ด้าน
เป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีทับหลังติดอยู่
จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือกาล
ซึ่อถือพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง
ด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๔ กร
กับรูปนางปรัชญาปารมิตาด้านหน้ามีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน
แต่ปัจจุบันลบเลือนมากที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ
ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง ๑.๗๕ เมตร หน้าตักกว้าง ๗.๕ เมตร ประดิษฐาน
อยู่ ๑ องค์
ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่นนอกจากนี้ยังพบทับหลังและองค์ประกอบสถาปัตยกรรมอื่นๆ
เช่น เสาประดับประตู
ประเพณีบุญเดือน 6
งานบุญเดือน 6
ประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อพระยาแล
ชัยภูมิ เมืองผู้กล้า พญาแล
เป็นเมืองโบราณเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยทวาราวดี สมัยขอมเรืองอำนาจ
ครั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหน้าด่าน ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
มีพระยาแลซึ่งเป็นชาวเวียงจันทน์ ได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก
ชาวชัยภูมิให้ความเคารพนับถือยกย่องเจ้าพ่อพระยาแลเป็นอย่างมาก จึงได้ร่วมกันสร้าง
อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล) ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2518
งานบุญเดือน 6
ประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อพระยาแล เพื่อถวายบายศรีแด่เจ้าพ่อพระยาแล
จะจัดขึ้นในวันจันทร์แรกของเดือนพฤษภาคมของทุกปี รวม 3
วัน 3 คืน ที่บริเวณศาลเจ้าพ่อพระยาแล หนองปลาเฒ่า
ตั้งขบวนแห่บายศรีกันตั้งแต่บ่ายโมง
เริ่มด้วยขบวนแห่เจ้าพ่อพระยาแลประทับบนหลังช้างเป็นขบวนแรก
ตามมาด้วยขบวนม้า
ขบวนของนายพรศักดิ์ เจียรณัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิคนปัจจุบัน
(พ่อเมืองทุกท่านที่มาครองเมืองชัยภูมิ ต้องเข้าร่วมงานบุญเดือนหกกันทุกคน
แล้วต้องเดินให้ครบรอบมาจนถึงศาลเจ้าพ่อพระยาแล ระยะทางประมาณ 8
กิโลเมตร เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน)
ขบวนบายศรีของอำเภอต่างๆที่ตั้งใจทำให้ยิ่งใหญ่และสวยงาม
เพื่อนำมาประกวดกันหลังจากขบวนแห่ทุกเข้ามาที่ศาลเจ้าพ่อครบทุกขบวน
ถึงแม้แดดจะร้อนปานใดก็ไม่เป็นอุปสรรค
เพราะทุกคนมาด้วยจิตศรัทธาที่มีต่อเจ้าพ่อพระยาแล ขบวนออกจากที่ว่าการอำเภอเมือง
ผ่านอนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล) กว่าจะมาถึงศาลเจ้าพ่อพระยาแลก็มืดค่ำพอดี
นับเป็นขบวนแห่บายศรีที่ยิ่งใหญ่ สวยงาม
หาชมได้ยากมีที่ชัยภูมิที่เดียวในประเทศไทยครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)